รู้ยัง?? ทำไมต้องทำประกันภัยรถยนต์??

เพราะในปัจจุบันคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำประกันภัยรถยนต์ มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนน เพราะแม้แต่มอเตอร์ไซค์เองก็ยังจะต้องทำประกันอุบัติเหตุเอาไว้ เพราะตามกฎหมายหรือ พรบ.แล้ว มีการบังคับให้ผู้ที่ครอบครองยานพาหนะที่ใช้สัญจรบนท้องถนนต้องทำประกันภัย  โดยรถทุกคันจะต้องทำประกันภัยรถยนต์ หรือประกันมอเตอร์ไซค์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก  แต่กระนั้นก็ยังมีอีกหลายคนอาจมองว่า ทำไมต้องทำประกันภัยกันล่ะ และอาจยังไม่รู้ว่าการทำประกันภัยรถยนต์ ในปัจจุบันมีกี่แบบ และให้ความคุ้มครองรถ หรือชีวิตคุณแบบไหนอย่างไรบ้าง

เหตุผลที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์

เพราะกฎหมายไทยบังคับให้ผู้ใช้รถทุกคันทุกประเภทต้องทำประกันภัย อย่างน้อยที่สุดก็คือ การทำประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชา ชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ประสบภัยจากรถ ซึ่งจะทำให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต  การทำประกันภัยรถยนต์ยังเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถยนต์อย่างแน่นอน ซึ่งการทำประกันภัยรถยนต์นั้นเป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากเหตุประสบภัยรถยนต์ โดยยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ประสบ ภัยและครอบครัว

ประเภทของการทำประกันภัยรถยนต์

1. การทำประกันภัยภาคบังคับ

การทำประกันภัยภาคบังคับ หรือประกัน พ.ร.บ. ได้บังคับให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรม การขนส่งทางบก จะต้องทำประกันภัยรถ หรือทำประกันภัยรถยนต์เพื่อคุ้มครองตัวบุคคลจากผลกระทบของอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ ซึ่งตามกฎหมายแล้วหากเกิดอุบัติเหตุ เมื่อทำประกันภัยรถยนต์ก็จะให้ความคุ้มครองในรูปของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายกำหนด

  • ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองก็คือผู้ประสบภัย หรือประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสาร คนเดินเท้า ซึ่งหากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ที่เกิดจากอุบัติเหตุรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ หรือหากมีกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นก็จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายกำหนดหรือตามข้อตกลง

  • โทษของการไม่ทำประกันภัย

หากมีการฝ่าฝืนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยไม่ได้จัดให้มีการทำประกันภัยรถยนต์ หรือทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีการกำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

  • อัตราเบี้ยประกันของการทำประกันภัยรถ

การทำประกันภัยรถ หรือประกันภัย พ.ร.บ. จะกำหนดอัตราเบี้ยสูงสุดอัตราเดียวตามประเภทของรถ อย่าง รถจักร ยานยนต์ และรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ฯลฯ รวมทั้งการใช้งานของรถ เช่น รถส่วนบุคคล รถรับจ้าง หรือ ให้เช่า ฯลฯ ซึ่งไม่อนุญาติให้บริษัทประกันภัยคิดค่าเบี้ยประกันสูงเกินกว่าที่กำหนด โดยราคาของเบี้ยประกันจะแตกต่างกันออกไป การทำประกัน ภัยรถยนต์ ประเภทรถเก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ประมาณ 800 บาท, การทำประกันภัยรถยนต์ ประเภทรถกระบะ ประมาณ 1,000 บาท, การทำประกันภัยประเภทรถตู้ ประมาณ 1,200 บาท  และการทำประกันรถจักรยานยนต์ ประมาณ 160-650 บาท ตามขนาดความจุกระบอกสูบหรือ ซีซี เครื่องยนต์

2. การทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ

การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นการทำประกันที่เกิดขึ้นตามความสมัครใจของเจ้าของรถ โดยส่วนมากประกันภาคสมัครใจจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งรถและผู้ประสบเหตุมากกว่าภาคบังคับ  โดยมีวงเงินคุ้มครองและสิทธิพิเศษอื่น ๆ มาก กว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากกว่าภาคบังคับด้วยเช่นกัน

การทำประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

  • ประกันภัยประเภท 1 (ประกันภัยชั้น 1)

หากทำประกันภัยรถยนต์ ที่เป็นประกันชั้น 1 ถือเป็นประกันที่คุ้มครองครอบคลุมที่สุด โดยจะรับทำประกันภัยรถยนต์เฉพาะรถเก๋งและรถกระบะส่วนบุคคลเท่านั้น บริษัทประกันจะรับผิดชอบทั้งเจ้าของรถและคู่กรณีทั้งทางกายและทรัพย์สิน รวมถึงอุบัติเหตุอื่น ๆ อย่าง ไฟไหม้ โจรกรรม และภัยธรรมชาติตามที่สัญญาระบุไว้ ส่วนวงเงินคุ้มครองและมูลค่าเบี้ยประกันจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งการทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 หรือประกันภัยชั้น 1 จะมีมูลค่าเบี้ยประกันสูงที่สุด โดยราคาตั้งแต่ 13,000-36,000 บาท ทั้งนี้ ราคาเบี้ยจะสูงขึ้นตามอายุของรถและขนาดเครื่องยนต์

  • ทำประกันภัยประเภท 2 (ประกันภัยชั้น 2)

ประกันภัยประเภท 2 จะคุ้มครองใกล้เคียงกับประเภท 1 โดยบริษัทจะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดทางกายของผู้เอาประกันและคู่กรณี โดยมีความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี  อีกทั้งยังรวมถึงเหตุอื่น ๆ อย่างไฟไหม้ โจรกรรม และภัยธรรมชาติตามที่ระบุไว้ แต่ประกันภัยประเภท 2 จะไม่คุ้มครองรถยนต์ของคุณเมื่อเกิดอุบัติเหตุ  ซึ่งในปัจจุบัน ประกันภัยประเภท 2 ไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะไม่คุ้มครองผู้เอาประกันจากอุบัติเหตุ โดยการทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 ที่มีค่าเบี้ยประกันราคาประมาณ 6,000-10,000 บาท

  • ประกันภัยประเภท 3 (ประกันภัยชั้น 3)

ประกันประเภทนี้สามารถทำประกันภัยรถยนต์ได้ทั้งรถส่วนบุคคลและรถเพื่อการพาณิชย์ คุ้มครองต่อตัวรถและทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงการรักษาพยาบาลทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่จะไม่คุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน โดยผู้เอาประกันสามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองได้ ซึ่งมีผลต่อราคาเบี้ยประกันด้วย การทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 หรือประกันชั้น 3 โดยรถเก๋งส่วนบุคคลจะมีราคาตั้งแต่ 900-6,000 บาท

  • ประกันภัยประเภท 5 (ประกันภัยชั้น 2+, 3+)

เป็นการทำประกันภัยรถยนต์ประเภทใหม่ที่ให้ความคุ้มครองเหมือนชั้น 2 และ 3 แต่จะเพิ่มความคุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน หรือที่หลายคนเรียกว่าเป็นประกันชั้น 2+ และ 3+  ซึ่งผู้ทำประกันอาจเลือกให้คุ้มครองไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ หรือโจรกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเสนอของแต่ละบริษัทประกัน ในการทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้รถ โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมแต่มีราคาต่ำกว่า ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5,000-20,000 บาท

ได้ทราบการทำประกันภัยรถยนต์ไปทั้งหมดแล้ว จะเห็นได้ว่าหากคุณประสบเหตุไม่คาดฝัน การทำประกันภัยรถยนต์มีประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะจะช่วยคุ้มครองตัวคุณและคู่กรณี รวมถึงดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุร้ายด้วย แต่กระนั้นก็จะต้องเลือกการทำประกันภัยรถยนต์โดยจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สูงสุดของคุณเอง ซึ่งการทำประกันภัยรถยนต์จะช่วยเพียงแก้ไขปัญหาหลังจากเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น  ส่วนภาระการป้องกันอุบัติเหตุเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ทุกคนที่ต้องช่วยกัน